RPA AI แตกต่างกันอย่างไร หลายคนอาจคุ้นเคยกับ AI ได้ยินกันบ่อยๆ แต่ไม่คุ้นเคยกับ RPA ทั้งสองเป็นตัวช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งต่างก็เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญกับการปฏิวัติธุรกิจยุคใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น วันนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจว่าทั้งสอง แตกต่างกันยังไง พร้อมยกตัวอย่างเพื่อให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้นหรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับธุรกิจของคุณได้
RPA คืออะไร
RPA คือ ซอฟแวร์หุ่นยนต์อัตโนมัติ RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation ออกแบบมาเพื่อแทรกแซงการทำงานของมนุษย์ หรือเลียนแบบการทำงานของคน ในรูปแบบการดำเนินงานซ้ำๆ เป็นกฎเกณฑ์ตายตัวหรือมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน จุดประประสงค์คือ เพื่อการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น ลดเวลาในการทำงาน ลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน พนักงานสามารถเอาเวลาไปโฟกัสงานในส่วนอื่น ที่สำคัญมากกว่า โดยคำว่า RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation นั่นเอง ตัวอย่างงานที่ระบบ RPA สามารถทำได้เช่น จัดการเอกสารและรายงาน ตรวจสอบข้อมูล ป้อนข้อมูลจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง ประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่าง RPA และ AI
สิ่งที่หลายคนอยากรู้ก็คือ RPA AI แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเราได้รู้กันไปแล้วว่า RPA คืออะไร มันคือระบบอัตโนมัติหรือซอฟแวร์ที่เลียนแบบการทำงานของมนุษย์ ลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ได้ เท่านั้นยังไม่พอ มันยังสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการทำงานได้อีกด้วย พออธิบายแบบนี้ ทุกคนคงสงสัยหรือเกิดคำถามในใจว่า แล้วมันต่างจาก AI ยังไง เพราะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ก็สามารถเลียนแบบพฤติกรรมของคนได้เช่นเดียวกัน
ต้องอธิบายให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence หมายถึง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีที่เลียนแบบความชาญฉลาดของมนุษย์ มันสามารถเรียนรู้ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขปัญหา ตัดสินใจได้เองโดยอัตโนมัติ AI มีความสามารถในการบริหารจัดการ ข้อมูลที่มีความซับซ้อนและไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI เช่น วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ประมวลผลทางภาษา ระบบแนะนำสินค้าหรือแนะนำบริการ การตรวจจับการทุจริตหรือการฉ้อโกง เป็นต้น สำหรับความแตกต่างของ RPA กับ AI สรุปมีดังต่อไปนี้
- RPA ทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ มีรูปแบบตายตัว ไม่สามารถเรียนรู้หรือปรับตัวได้
- AI มีความสามารถปรับตัว เรียนรู้ วิเคราะห์ ปรับปรุงประสิทธิภาพได้จากข้อมูล หรือประสบการณ์
- RPA เหมาะสำหรับงานที่มีรูปแบบชัดเจน มีขั้นตอนชัดเจนและทำซ้ำๆ ไม่เหมาะกับงานที่มีความซับซ้อน
- AI มีความสามารถจัดการงานที่มีความซับซ้อนได้และรวมถึงงานที่ต้องใช้การตัดสินใจ
- RPA สามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลมีโครงสร้างที่ชัดเจน
- AI มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ แม้ข้อมูลจะมีโครงสร้างที่ไม่ชัดเจนก็ตาม เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง หรือข้อความ เป็นต้น
- RPA มีความยืดหยุ่นไม่มาก จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงโดยมนุษย์ เมื่อมีการขยายตัวของธุรกิจหรือมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน
- AI มีความยืดหยุ่นสูงมากกว่า สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี หรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ
ตัวอย่างการนำ RPA และ AI มาใช้งาน
เมื่อ RPA AI ถูกนำมาผสมผสานใช้งานร่วมกันจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น มันสามารถสร้างประโยชน์หรือสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียว RPA รับผิดชอบงานประจำหรืองานที่มีรูปแบบซ้ำๆ มีกฎเกณฑ์ตายตัว งานที่ต้องการความแม่นยำสูง ในขณะที่ AI เพิ่มความชาญฉลาดเข้ามา ทำให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น หรือแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ ยกตัวอย่างการผสมผสานระหว่าง RPA กับ AI
- AI ใช้วิเคราะห์เอกสารที่ไม่มีโครงสร้าง หรือมีโครงสร้างที่ซับซ้อน จากนั้นส่งข้อมูลไปยัง RPA เพื่อนำไปป้อนในระบบเป็นขั้นตอนต่อไป
- RPA ดึงเอาข้อมูลจากลูกค้ามา จากนั้นวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าด้วย AI เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เหมาะสม
- AI ตรวจสอบความผิดปกติหรือรายการที่ผิดปกติ จากนั้น PRA ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง สามารถตรวจสอบได้แบบอัตโนมัติ
สรุป
จากทั้งหมดที่เรากล่าวมา คงได้คำตอบแล้วใช่ไหมว่า RPA AI แตกต่างกันอย่างไร RPA เหมาะกับงานที่มีรูปแบบตายตัว มีการกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน ข้อมูลมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ส่วน AI จะมีความชาญฉลาดมากกว่าจัดการกับข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้มากกว่า จะเกิดอะไรขึ้นหาก RPA กับ AI ทำงานร่วมกัน แน่นอนว่ามันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างมาก หรือหากสนใจเล็งเห็นโอกาสต้องการนำ RPA & AI มาใช้กับธุรกิจสามารถปรึกษาเราได้ Greenmoons เราคือ RPA Developer พร้อมให้คำแนะนำฟรี เรามีประสบการณ์และมีความชำนาญในการนำ RPA + AI มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจคุณมากที่สุด
Related post
ทำไม RPA จึงสำคัญกับธุรกิจทุกขนาดและ ธุรกิจอะไรบ้าง ที่ต้องใช้ระบบ RPA แนวโน้มและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ
การนำ RPA เข้ามาใช้ในธุรกิจประกันภัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพของบริการให้กับลูกค้าได้อย่างมาก
Read Moreการนำระบบ RPA เข้ามาใช้กับธุรกิจประกันภัย มีประโยชน์ไหม ? RPA ช่วยธุรกิจประกันภัยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำไรได้อย่างไร
การนำระบบ RPA เข้ามาใช้ในธุรกิจประกันภัย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างมาก
Read More