5 ประเภทงานที่ RPA สามารถใช้ทำงานแทนมนุษย์ได้ เทคนิคการใช้ RPA ที่จะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้น

5 ประเภทงานที่ RPA สามารถใช้ทำงานแทนมนุษย์ได้

RPA เครื่องมือที่ใช้ทำงานแทนมนุษย์ หลายคนอาจไม่เข้าว่าเครื่องมือนี้ใช้ทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างไร ก่อนอื่นเลยต้องมาทำความเข้าใจว่าเครื่องมือดังกล่าวนี้คืออะไร แล้วมีงานประเภทใดบ้างที่สามารถใช้ Robot RPA ทำงานแทนคนได้ ซึ่งเราจะอาสาพาทุกคนมาหาคำตอบ การทำงานโดยแรงงานคน เสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ เช่น การคีย์หรือการป้อนข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบข้อมูล การสร้างแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ เป็นต้น จะดีกว่าไหมถ้ากระบวนการทำงานซ้ำๆ ดังกล่าวสามารถทำให้เป็นระบบอัตโนมัติได้

RPA คืออะไร

RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation โดย RPA คือ เครื่องมือที่ช่วยขั้นตอนการทำงานซ้ำๆ เทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบใหม่ด้วยระบบอัตโนมัติ Robot RPA เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงานของแรงงานคน หรือ Human Error เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ลดต้นทุนจากการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพจากการทำงานได้มากขึ้น

5 ประเภทงานที่ RPA สามารถทำแทนได้

1.กรอกข้อมูลและประมวลผล

RPA พัฒนาโดย RPA Developer คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจ พัฒนาระบบขึ้นมาเพื่อให้มีความสามารถในการทำงาน ทดแทนการทำงานในกระบวนการซ้ำๆ ที่มนุษย์ต้องทำอยู่เป็นประจำให้เป็นระบบอัตโนมัติ เช่น การกรอกข้อมูล มีความสามารถในการคัดลอกข้อมูลจากระบบหนึ่งมายังอีกระบบ รวมถึงการแปลงข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ธุรกิจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย หรือใช้งานร่วมกับระบบอื่น โดย Robotic Process Automation ช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานมนุษย์ และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้เป็นอย่างดี

2.ประมวลผลใบแจ้งหนี้

Robot RPA มีความสามารถในการประมวลผลใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรับเอกสาร ตรวจสอบ และประมวลผล ส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง Robot จะช่วยให้กระบวนการต่างๆ อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ทุกใบแจ้งหนี้ โดย RPA จะดึงข้อมูลจากเอกสารใบแจ้งหนี้ เช่น จำนวน ราคา เลขที่ใบแจ้งหนี้ ผู้จัดซื้อ เพื่อนำข้อมูลไปตรวจสอบความถูกต้อง เปรียบเทียบกับข้อมูลในระบบอื่นๆ ระบบแจ้งเตือนหากข้อมูลไม่ตรงกัน หรือกรณีมีข้อมูลไม่ครบถ้วน สุดท้ายนำไปกรอกในช่องที่ถูกต้อง หรือส่งเมลให้จัดซื้อเป็นขั้นตอนต่อไป

3.จัดการทรัพยากรบุคคล

เครื่องมือ RPA Robotic Process Automation ประโยชน์ต่อฝ่ายทรัพยากรบุคคล เช่น การจัดหาพนักงานใหม่ ทำพรีสกรีน การจัดตารางสัมภาษณ์ ครอบคลุมไปจนถึงการจัดข้อมูลอย่างเป็นระบบบนฐานข้อมูล Database หลังจากที่จบขั้นตอนการสัมภาษณ์แล้ว ยังสามารถช่วยในส่วนของ Onboarding และการจัดการข้อมูลการทำงานของพนักงานได้อีกด้วย

5 ประเภทงานที่ RPA สามารถทำแทนได้

4.งานบริการลูกค้า

Robot RPA ช่วยในส่วนของการบริการลูกค้าได้อย่างไร เมื่อมีการแสดงความคิดเห็น มีคำถามที่พบบ่อยหรือมีข้อร้องเรียนเข้ามาในระบบ RPA ประมวลผลด้วยชุดตอบคำถามหรือข้อความที่มีการตั้งค่าไว้ล่วงหน้า พนักงานไม่ต้องเสียเวลาไปกับการตอบคำถามเดิมซ้ำๆ ส่วนมากแล้วจะเป็นคำถามที่คล้ายกันแล้วแต่อุตสาหกรรมของธุรกิจ

5.จัดทำรายงานทางการเงิน

สุดท้าย ระบบ RPA ช่วยจัดทำรายงานทางการเงินหรืองานทางบัญชี งานส่วนนี้มักมีรูปแบบการทำงานซ้ำๆ มีเอกสารจำนวนมาก รายละเอียดจำนวนมาก หากมีเครื่องมืออัตโนมัติ RPA เข้ามาช่วย ลดภาระการทำงานของพนักงานฝ่ายบัญชีได้เป็นอย่างมาก ลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้อีกด้วย ตั้งแต่การดึงข้อมูลจากเอกสาร การทำรายงานเป็นไปตามกฎระเบียบที่วางไว้

5 ประเภทงานที่ RPA ไม่สามารถทำแทนได้

  1. งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น แคมเปญทางการตลาด หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะงานในลักษณ์นี้ จะมีขั้นตอนการทำงานแตกต่างกัน ไม่ได้มีรูปแบบที่ทำซ้ำๆ เหมือนกัน
  2. งานที่ต้องมีการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ แม้ Robot RPA จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้แต่ถ้าต้องแก้ปัญหาแบบฉุกเฉิน หรือต้องอาศัยสัญชาตญาณในการตัดสินใจ ยังไม่สามารถทำได้เหมือนมนุษย์
  3. งานที่ไม่ใช่ดิจิทัล เช่น งานยกของ จัดเรียงของหรือบังคับเครื่องจักร ฯลฯ RPA ยังไม่สามารถทำแทนแรงงานคนได้
  4. งานที่ไม่มีกระบวนการที่แน่นอน RPA มีหลักเกณฑ์ที่ถูกตั้งค่าไว้ ใช้สำหรับงานที่มีกระบวนการที่แน่นอน แต่ถ้าเป็นงานอย่างอื่น เช่น การแก้ไขปัญหาซับซ้อนยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทาย
  5. งานที่ต้องใช้อารมณ์หรือความรู้จัก RPA ยังไม่สามารถทำแทนคนได้ เช่น เมื่อลูกค้าอารมณ์เสียใส่ต้องใช้คนรับมือเพราะเข้าใจอารมณ์และมีแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีกว่า
5 ประเภทงานที่ RPA ไม่สามารถทำแทนได้

สรุป

Robot RPA สามารถประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท ทำงานแทนคน ช่วยให้กระบวนการทำงานแบบซ้ำๆ เป็นอัตโนมัติ ลดข้อผิดพลาด เพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ อย่างไรก็ตาม ยังมีงานอีกหลายอย่างที่ RPA ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้อารมณ์หรือความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายคนกังวลว่ามันจะเข้ามาแย่งงานคน ทำให้แรงงานคนตกงาน อย่าลืมว่า RPA เป็นโรบอทที่ยังไม่เข้าใจกระบวนการทางความคิดที่ซับซ้อนและยังคงต้องถูกป้อนคำสั่งจากคน ดังนั้น RPA จึงไม่สามารถแทนที่คนได้ 100% เอาเป็นว่าถ้าต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ลดข้อผิดพลาดจาก Harman Error ปรึกษา Greenmoons ได้เลย ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน


SHARE:

TAGS:

Related post

ทำไม RPA จึงสำคัญกับธุรกิจทุกขนาดและ ธุรกิจอะไรบ้าง ที่ต้องใช้ระบบ RPA แนวโน้มและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ

การนำ RPA เข้ามาใช้ในธุรกิจประกันภัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพของบริการให้กับลูกค้าได้อย่างมาก

Read More
การนำระบบ RPA เข้ามาใช้กับธุรกิจประกันภัย มีประโยชน์ไหม ? RPA ช่วยธุรกิจประกันภัยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำไรได้อย่างไร

การนำระบบ RPA เข้ามาใช้ในธุรกิจประกันภัย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างมาก

Read More

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *